วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Dealing with Anger Management

Dealing with Anger Management
Crizza Reyes.(2008). Dealing with Anger Management. retrieved May 26, 2008, from
http:// www.articlecity.com/ articles/ self _ improvement _and_motivation/ article _ 6159. shtml article _6 376. shtml

สรุปสาระสำคัญ
สักครั้งหนึ่ง หรือ มากกว่านั้น ที่เรามักจะไม่สามารถเอาชนะ หรือ ควบคุม อารมณ์โกรธ ความเคร่งเครียด หรือสถานการณ์แย่ ๆ ได้ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดาของปุถุชนคนทั่วไป เราทุกคนต่างก็โกรธเป็นด้วยกัน ทั้งนั้น จะแตกต่างกันอยู่ที่ว่าใครจะระงับความโกรธได้มากหรือน้อยกว่ากันเท่านั้นเอง อารมณ์โกรธ ทำให้หัวใจเราเต้นแรง ความดันโลหิตจะสูงขึ้นชีพจรจะเต้นเร็วขึ้นกล้ามเนื้อหดเกร็งตัวอย่างกะทันหัน ซึ่งสังเกตได้ว่ามันเป็นผลลบ ไม่เพียงแค่ตัวเราเท่านั้น ยังส่งผลกระทบไปยังบุคคลอื่นรอบข้างได้ด้วย ซึ่งบรรดานักจิตวิทยาได้จัดให้มีการฝึกอบรมการจัดการอารมณ์ให้แก่บุคคลที่ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ หลาย ๆ วิธีได้นำมาสอนเช่น ให้อยู่ในสถานการณ์ที่สามารถทำให้อารมณ์เสียได้ วิธีผ่อนคลาย ทักษะในการจัดการความตึงเครียด เรียนรู้ถึงความอ่อนโยน สุภาพ และการให้อภัย การเรียนรู้วิธีระงับความโกรธได้นั้นสำคัญมาก ๆ เพราะ ความโกรธที่ควบคุมไม่ได้ สามารถที่จะทำลายชีวิตผู้อื่นได้ ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกายหรือจิตใจ แต่ถ้าเราสามารถควบคุมมันได้ เราก็จะกลายเป็นผู้ที่มีความสุข สามารถเข้ากับผู้อื่นได้

วิเคราะห์ วิจารณ์
ความขัดแย้งเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นในสถานที่ทำงาน ครอบครัว และกลุ่มเพื่อน ๆ พบว่าคนส่วนใหญ่จะแสดงพฤติกรรมที่แตกต่างกันไปตามสถานการณ์ของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น บางคนเก็บความไม่พอใจไว้ภายใน ไม่แสดงออกมาให้ผู้อื่นเห็น บางคนโกรธ แสดงกิริยาไม่ชอบ ไม่พอใจออกมาอย่างเห็นได้ชัด (Shine, 2550) ความขัดแย้ง (conflict) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกับจุดมุ่งหมาย หรือวิธีการ หรือทั้งสองอย่างแต่เป็นความสัมพันธ์ในทางลบ การที่แต่ละฝ่ายไปด้วยกันไม่ได้ในเรื่องเกี่ยวกับความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นความต้องการจริง หรือศักยภาพที่จะเกิดตามต้องการ มักเกิดจากปัญหาการสื่อสาร โครงสร้างองค์การ หรือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เกิดจากบทบาท หน้าที่การงาน คุณค่า บุคลิกภาพส่วนตน กฎระเบียบ ทรัพยากร และเป้าหมาย ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างบุคคล ระหว่างกลุ่ม ภายในองค์กร และระหว่างองค์กร ผลดีของความขัดแย้งคือ เป็นตัวกระตุ้นให้คนแสวงหาวิธีการต่างๆจะนำผลไปสู่ผลตอบสนองที่ดีขึ้น และปัญหาที่ถูกซ้อนเร้นอยู่ได้ถูกนำมาเปิดเผย เพื่อจะได้สามารถแก้ไขปัญหานั้นได้ และนอกเหนือไปจากสิ่งเหล่านี้คือ กลุ่มคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง จะมีความเข้าใจต่อกันอย่างลึกซึ้งมากขึ้น หลังจากที่ได้แก้ไขข้อขัดแย้งนั้นให้ลุล่วงไปแล้ว ผลเสียของความขัดแย้ง ทำให้ความร่วมมือและการทำงานร่วมกันเป็นทีมลดลง ความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ความห่างเหินก็เพิ่มมากขึ้นทั้งในระหว่างบุคคลและในระหว่างกลุ่มที่ควรจะร่วมมือกัน บุคคลที่รู้สึกว่าตนเองเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในความขัดแย้งนั้นจะรู้สึกว่าตนเองไร้ความหมาย ไร้ค่า ภาพพจน์ที่มีต่อตนเองจะตกต่ำลง และสูญเสียแรงจูงใจในตนเอง และแม้ว่าจะไม่เกิดความพ่ายแพ้เลยก็ตาม ความขัดแย้งก็ยังเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาทางด้านอารมณ์ได้อย่างมาก วิธีจัดการกับความขัดแย้งสามารถทำได้หลายวิธีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และประสบการณ์ของแต่ละคน (Mastery Organization Development Institute, 2550) การหลบหลีกความขัดแย้ง (avoiding style) ผู้ที่เกี่ยวข้องจะใช้ความเพิกเฉยในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดยจะไม่มีการให้ความสนใจทั้งประโยชน์ของตนเองและประโยชน์ของผู้อื่น หรือไม่ให้ความร่วมมือกับฝ่ายตรงข้าม และพยามหลบหลีกหรือหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง ซึ่งแม้วิธีการนี้จะเป็นการลดภาวะตรึงเครียดได้ระยะหนึ่ง แต่จะไม่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ได้อย่างแท้จริง แต่หากความขัดแย้งเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ และเป็นความขัดแย้งที่ไม่รุนแรงและไม่มีความชัดเจน การบริหารความขัดแย้งโดยการวางเฉยจะมีความเหมาะสมอย่างมาก หรือในกรณีที่สถานการณ์ที่รุนแรงและเป็นอันตรายหากเข้าไปเกี่ยวข้องการหลีกเลี่ยงก็เป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ การให้ความช่วยเหลือ (accommodating style) การจัดการความขัดแย้งวิธีนี้คือการให้ความช่วยเหลือฝ่ายตรงข้าม หรือการให้ความร่วมมือ โดยไม่สนใจว่าฝ่ายของตนเองจะได้รับผลประโยชน์อะไรบ้าง การใช้กลยุทธ์การให้ความช่วยเหลือจะเหมาะกับสถานการณ์ที่ความขัดแย้งค่อนข้างรุนแรงหรือวิกฤติ การแข่งขัน (competing style) การใช้กลยุทธ์การแข่งขันเป็นกลยุทธ์ที่ฝ่ายที่ใช้กลยุทธ์จะแสวงหาช่องทางที่จะได้รับประโยชน์สูงสุด หรือแสวงหาความได้เปรียบ นอกจากนี้ยังมีการให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหาน้อยมาก เนื่องจากฝ่ายที่ใช้กลยุทธ์นี้จะยึดเป้าหมาย และวิธีการของตนเองเป็นหลัก และการแข่งขันจะมานำไปสู่การแพ้ ชนะ การให้ความร่วมมือ (collaborating style) สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถกำจัดข้อขัดแย้งต่าง ๆ ลงไปได้

ข้อเสนอแนะ
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องปกติที่ไม่สามารถหลีกหนีได้ ทุกคนมีโอกาสที่จะเผชิญกับความขัดแย้ง ต่างกันตรงที่ขอบเขตหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นจะมากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละคน และเมื่อเราเผชิญกับปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ต้องไม่วิตกกังวล รนราน ทำอะไรไม่ถูก เพียงแต่เราต้องตั้งสติและพยายามวิเคราะห์ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น พยายามสำรวจข้อมูลต่าง ๆ ของปัญหา หาแนวทางเลือกที่จะยุติหรือลดความขัดแย้ง โดยการพิจารณาเลือกแนวทางเลือกที่ดี ถูกต้อง และเหมาะสมที่สุดที่เราคิดว่าจะเป็นหนทางนำไปสู่ผลประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง


บรรณานุกรม

Shine (2550). การบริหารความขัดแย้ง. ค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2551, จาก
http:// shine-management-tips.blogspot.com/ 2007/ 09 / blog-post_9980.html
Mastery Organization Development Institute (2550). การบริหารความขัดแย้ง. ค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2551, จาก http://masterly.igetweb.com/index.php?mo=3&art=73094

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น