วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

การเรียนรู้ด้วยตัวเองเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์. (2549). การเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต. ค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2551, จาก http:// www.e-hrit.com / article_index.asp?id=060020

สรุปสาระสำคัญ
มนุษย์แต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น เรียนรู้โดยการเลียนแบบ เรียนรู้จากการลองผิดลองถูก เรียนรู้จากการคิดแบบต่าง ๆ เรียนรู้ในสิ่งที่คนอื่นได้เรียนรู้ไว้แล้วจึงไปเรียนรู้ตาม หรือแม้แต่เรียนรู้จากการสังเกต การดู การฟัง การอ่านการเรียนรู้อาจแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ มีครูสอน มีหลักสูตร มีแนวทาง มีวิธีการกำหนดชัดเจน อีกลักษณะหนึ่ง คือ จัดให้ยืดหยุ่น ปรับกฎเกณฑ์ กติกาให้ลดหย่อนลงตามสภาพของผู้เรียน เราก็เรียกว่าเป็นการเรียนรู้จากการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยซึ่งเป็น กระบวนการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ที่มีความหลากหลายมาก ไม่เป็นระบบ เป็นทางการอะไร อาจจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวจะตั้งใจหรือไม่ก็ได้ มีความหมาย มีเหตุผล บอกได้ว่าจะเรียนไปเพื่ออะไร เพราะเหตุผลใด และใช้ประโยชน์จากการเรียนรู้นั้นได้อย่างไร มั่นใจในตนเองว่าสามารถเรียนรู้ได้ มีเป้าหมาย มีวิธีการ มีลำดับขั้นตอนของการเรียนรู้ มีแรงจูงใจให้เรียนรู้ ไม่ใช่เรียนเพราะถูกบังคับหรือเรียนเพราะมีรางวัลล่อใจ ต้องเป็นตัวของตัวเอง คือ กำหนดได้ว่าตนเองจะทำอะไร เพื่ออะไร มีมาตรฐานระดับใด ประเมินตนเองอยู่เสมอ ๆ ว่าเรียนรู้แล้วก้าวหน้าไปถึงไหนโลก ซึ่งในยุคปัจจุบัน ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเติบโตอย่างรวดเร็วมาก ความรู้เกิดขึ้นได้มากมาย การสร้างเสริมความสามารถการเรียนรู้ของบุคคลให้เข้มแข็งขึ้นสำคัญอยู่ที่ความสามารถในการเรียนรู้ของบุคคล และบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ซึ่งจะต้องส่งเสริมให้เกิดขึ้นพร้อมกันอย่างเป็นระบบ จึงจะเกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

วิเคราะห์ วิจารณ์
ปัจจุบันนี้ถือได้ว่าเป็นยุคของความไม่แน่นอนอันเกิดผลจากอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัตน์ ที่ทั้งเทคโนโลยี, ระบบการค้าและธุรกิจ, สภาพสังคม และวิกฤตเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ฉะนั้นความรู้จึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต, การทำงาน และการอยู่ให้รอดไปสู่ความสำเร็จในโลกของการเปลี่ยนแปลง (อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์, 2549) ความรู้เกิดจากการแสวงหา เป็นพรแสวงมากกว่าพรสวรรค์ที่ติดตัวมาแต่เกิด ความรู้เป็นสิ่งที่สามารถฝึกฝนและเรียนตามทันกันได้ ความรู้ไม่จำกัดอายุและชนชั้น ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะขวนขวายหาความรู้ได้ หากสามารถนำความรู้ที่มีมาประยุกต์ใช้ในการทำงานให้เกิดประโยชน์ได้ การจัดการความรู้จำเป็นต้องมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (continuous learning) อยู่ตลอดเวลา ทำให้เป็นคนที่มีโลกทัศน์และวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล รู้ว่าควรทำอะไรไม่ควรทำอะไรในช่วงเวลาไหน หลักหรือเทคนิคง่าย ๆ เพื่อการจัดการความรู้ให้เกิดประสิทธิภาพ มีมากมายหลายอย่าง อาทิ เช่น การฟังให้มาก, การถามให้รู้ เป็นอีกวิธีการหนึ่งในการสร้างองค์ความรู้ให้เกิดขึ้น, การอ่านให้สนุก โดยพยายามจัดสรรเวลาในแต่ละวันเพื่อการอ่าน นอกจากนี้ยังสามารถที่จะมี การประยุกต์ใช้ ความรู้ มีความรู้มากย่อมจะมีข้อมูลเพื่อการวางแผนงาน กำหนดกลยุทธ์ และสามารถตัดสินใจในการเลือกแนวทางเลือกสำหรับการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง พร้อมและกล้าพอที่จะเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ทำให้มีไอเดียหรือความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆมีหลักการหรือเหตุผลที่น่าเชื่อถือได้ในการตอบข้อซักถามหรือประเด็นข้อสงสัยจากหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง หรือแม้กระทั่งลูกค้าของเราเองได้
(tawanwong, 2551) ซึ่งนอกจากนี้ ตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ ทำให้เรามีทางเลือก สำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต หลายแนวทาง ทั้งการศึกษา ในระบบ (เช่นเรียนต่อใน สถาบันการศึกษา) นอกระบบ (เช่นรับการฝึกอบรม ของกรมพัฒนาฝีมือ แรงงาน) และตามอัธยาศัย การเปิดสอน web-based course ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นับว่าเป็นการศึกษา ตามอัธยาศัย ที่เป็นประโยชน์ ต่อผู้มีงานทำอยู่แล้ว มากที่สุด เพราะผู้เรียนสามารถเรียนได้โดยไม่มีข้อจำกัดของเวลาและสถานที่ ว่างเมื่อไรเรียนเมื่อนั้น อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ ขอเพียงสามารถ เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้เท่านั้น ซึ่งในข้อหลังนี้ เทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ รุ่นใหม่จะทำให้เราสามารถ เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้เกือบทุกแห่งในโลกนี้ และในประเทศไทย ของเรา ภายใน 2-3 ปี ข้างหน้า จะมีบริการอินเทอร์เนตสาธารณะ ที่เข้าถึงทุกหมู่บ้าน (เหมือนกับที่มีบริการ โทรศัพท์ สาธารณะในวันนี้) ยิ่งกว่านั้น ระบบการเชื่อมโยงของ world wide web ทำให้ข้อมูลต่างๆ ที่เราต้องการค้นคว้า มาประกอบการเรียนรู้นั้น อยู่ห่างเพียงแค่ปลายนิ้วมือ ที่ใช้คลิกเมาส์เท่านั้น จะเรียกว่า เป็นการย้ายมหาวิทยาลัย หรือวิทยาลัยมาวางไว้ บนอุ้งมือเรา ก็คงไม่ผิดความจริงนัก

ข้อเสนอแนะ
การเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มนั้นเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่งที่จะบรรลุผลได้ก็ต้องสร้างความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง และต้องใช้เวลายาวนาน ในขณะที่แนวคิดนี้ต้องได้รับการสนับสนุนและดำเนินการอย่างจริงจังจากทุกฝ่าย ที่จะต้องบรรจุเป็นนโยบายหลักขององค์กร ซึ่งต้องให้การสนับสนุนอย่างจริงจังในด้านงบประมาณในการจัดกิจกรรม โดยตั้งเป็นกองทุนส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้ทุนเบื้องต้นสำหรับแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ใช้จัดกิจกรรม, ให้การสนับสนุนด้านวิชาการ ได้แก่ การจัดทำแนวทางการดำเนินงานเพื่อชี้แนะให้ผู้รับผิดชอบแหล่งการเรียนรู้นั้นมีแนวทางการดำเนินงาน ซึ่งอาจรวมไปถึงการร่วมกันพัฒนามาตรฐานคุณภาพการให้บริการด้วย โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน, การสนับสนุนด้านการพัฒนาบุคลากร เพื่อร่วมกันสร้างนักการศึกษาตามอัธยาศัยให้กระจายอยู่ในทุกแหล่งการเรียนรู้ เพื่อช่วยให้บุคคลที่เข้ามาในแหล่งการเรียนรู้ได้เกิดการเรียนรู้ที่สะดวกขึ้น ท้ายที่สุดนี้คือ การสนับสนุนโดยการสร้างเครือข่ายการให้บริการร่วมกัน ระหว่างแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อกระจายการบริหารให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย และเสริมประสิทธิภาพการบริการซึ่งกันและกัน


บรรณานุกรม

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2549). การจัดการความรู้เพื่อเพิ่มมูลค่า. ค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2551, จากhttp://www.hrcenter.co.th/HRKnowView.asp?id=242
Tawanwong (2551). สื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต. ค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2551, จาก http://thai- muslim-sut.igetweb.com/?mo=3&art=112757

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น