วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับความฉลาดทางอารมณ์

นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับความฉลาดทางอารมณ์

ณรัฐ วัฒนพานิช. (2549). นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับความฉลาดทางอารมณ์. ค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2551, จาก วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปีที่ 2 (2) (เม.ย. – มิ.ย.) 2549, หน้า 57 - 63


สรุปสาระสำคัญ
สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพ คือบุคลากรในองค์กรที่มี “ความฉลาดทางอารมณ์” ที่จะสามารถในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยใช้ ความเข้าใจความรู้สึกและความต้องการของตนเอง การรู้ความเป็นไปได้ของตน รู้เท่าทันอารมณ์ สามารถจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ รู้จักสร้างกำลังใจให้ตนเอง มองโลกในแง่ดี เพื่อหาความเหมาะสมในการนำไปสู่การเข้าใจผู้อื่น มีความเข้าใจและยอมรับธรรมชาติของอารมณ์ว่าบุคคลแต่ละคนมีความรู้สึกและอารมณ์พื้นฐานแตกต่างกันไป รับฟัง เข้าใจ ให้เกียรติผู้อื่น เพื่อแสดงออกมาได้อย่างเหมาะสม เพื่อหาทางออกในการแก้ไขจัดการงานหรือปัญหาต่างๆ ให้ผ่านพ้นไปได้อย่างเหมาะสม เพราะในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย องค์กรต้องปรับเปลี่ยนเพื่อสามารถแข่งขัน มีความพร้อม ที่จะรับมือกับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไป พร้อมทั้งนำไปสู่ความสำเร็จ แก้ไขปัญหาการขัดแย้ง ก่อให้เกิดการเข้าใจ และการไว้วางใจต่อกัน

วิเคราะห์ วิจารณ์
บุคลากรที่มีการจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ดี มีสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะมีชีวิตที่มีความสุข ดั่งภาษิตจีนโบราณบอกว่า "นกไร้ขน คนไร้เพื่อน ยากจะขึ้นสู่ที่สูงได้" (ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล, 2548) คนเราถ้าจะเก่งเพียงคนเดียว ไม่มีเพื่อน ไม่มีหัวหน้าคอยสนับสนุนย่อมยากที่จะเจริญก้าว หน้าในการงานได้โดยง่าย ด้วยเหตุนี้คนเก่งต้องเก่งทั้งในการบริหารจัดการตนเอง และการบริหารจัดการผู้อื่นให้สามารถทำงานบรรลุเป้าหมายได้ในที่สุด (กรมสุขภาพจิต, 2550) ฝึกรู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง บอกกับตัวเองได้ว่าขณะนี้กำลังรู้สึกอย่างไร และรู้ได้ถึงความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่เกิดขึ้น ซื่อสัตย์ต่อความรู้สึกของตนเอง ยอมรับข้อบกพร่องของตนเองได้ แม้เมื่อผู้อื่นพูดถึง ก็สามารถเปิดใจรับมาพิจารณา เพื่อที่จะหาโอกาสปรับปรุงหรือใช้เป็นข้อเตือนใจที่จะระมัดระวังการแสดงอารมณ์มากขึ้น

ข้อเสนอแนะ
เนื่องจากอีคิวมีความสำคัญอย่างมากเกี่ยวกับความสำเร็จในชีวิตของแต่ละคน จึงทำให้ต้องมีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอีคิว แต่ความจริงแล้วการพัฒนาอีคิว จะต้องเริ่มมาตั้งแต่วัยเด็กจะได้ผลมากกว่าในวัยอื่น ๆ การพัฒนาอีคิวที่สำคัญก็คือพ่อแม่ซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิดลูกมากที่สุดจะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก ๆ ทั้งในด้านการแสดงออกในเรื่องความเอื้ออารีหรือเอื้ออาทรต่อบุคคลอื่น ๆการมองโลกในแง่ดี การไม่ทะเลาะวิวาทซึ่งกันและกัน เพื่อให้ลูกจดจำเป็นแบบอย่าง นอกจากนี้จะต้องพยายามให้ลูกได้คบหาสมาคมกับเพื่อน ๆ เพื่อจะได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคม เช่น รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ความมีน้ำใจนักกีฬารู้แพ้รู้ชนะหรือทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเพื่อความสำเร็จของหมู่คณะ ถ้าหากพ่อแม่ได้มีส่วนในการพัฒนาอีคิวของลูกดังกล่าวนี้แล้ว เชื่อว่าจะมีส่วนช่วยให้ลูกมีความสำคัญในอนาคตอย่างแน่นอน รวมทั้งเป็นการช่วยสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่ดีให้กับสังคมและประเทศชาติ


บรรณานุกรม

ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล. (2548). ความฉลาดทางอารมณ์ กับการบริหารจัดการงานบุคคล.
ค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2551, จากhttp://www.nidambe 11.net/ekonomiz/ 2005q2 /article2005may09p5.htm
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (2007). คู่มือความฉลาดทางอารมณ์ ฉบับปรับปรุง
ค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2551, จาก http://61.19.124.3/ web2007 / article/ catalog. php?idp=51

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น