วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Creating a Knowledge Management System

Creating a Knowledge Management System
Sheila Campbell. (2008). Creating a Knowledge Management System.
Retrieved July 20, 2008, from http://www.business-marketing.com/store/abknowledge.html


สรุปสาระสำคัญ
ในการสร้างระบบการจัดการความรู้ เราควรที่จะจัดการกับข้อมูลต่าง ๆ ที่จะช่วยให้เราเกิดคู่แข่งทางการค้าได้ โดยการที่เราจะต้องนำข้อมูลความรู้ต่างๆ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยบุคลากรภายในองค์กรที่เราคิดว่า สามารถที่จะทำให้เกิดความสำเร็จได้ ซึ่งการที่จะไปสู่เป้าหมายได้นั้น เราจะต้องมีความรู้ที่จะจัดการให้ข้อมูลต่างๆ กลายเป็นประสิทธิผล ซึ่งเกิดจากการบริหารจัดการอย่างมีระบบ โดยมีบุคลากรเป็นเครื่องมือที่จะช่วยดำเนินการต่าง ๆ อย่างมีทักษะ ความชำนาญ ความรู้ที่แฝงอยู่ในบุคคล ที่เราจะต้องดึงเอาทักษะ ขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ เหล่านั้นนำมาบันทึกเก็บไว้ ในทุก ๆ วัน ในกรณีศึกษาของบริษัท Carrera Consulting ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลให้แก่กัน ในเวลาที่พนักงานลาออกไป ความรู้ต่าง ๆ ได้รับการถ่ายทอด มีการต่อยอด ทำให้ไม่เสียเวลาในการที่จะต้องเริ่มต้นใหม่
กุญแจในการสร้างระบบการจัดการความรู้ ต้องทำให้พนักงานรู้สึกว่าไม่เป็นการเพิ่มภาระให้แก่เขา อยากที่มีส่วนร่วมในระบบนี้ และสามารถที่แชร์ความรู้ได้อย่างเต็มที่ ควรที่มอบรางวัลเพื่อให้เกิดกำลังใจ ซึ่งการเริ่มต้นที่ดีนั้น ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารระดับสูงที่จะช่วยขับเคลื่อนให้สามารถดำเนินไปได้ และควรที่จะสนับสนุนให้ระบบการจัดการความรู้เป็นพันธกิจขององค์กร ท้ายสุดควรที่ถามตัวเองว่าเรามั่นใจในการลงทุนครั้งนี้หรือไม่ และพนักงานคนไหนที่เราคิดว่าเราลงทุนแล้วคุ้มค่ากับองค์กรของเราหรือไม่


วิเคราะห์ วิจารณ์
องค์กรในปัจจุบันเริ่มที่จะตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้เป็นอย่างมาก ท่ามกลางกระแสการต่อสู่ในโลกยุคใหม่ ความรู้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะพาองค์กรประสพความสำเร็จ รวมทั้งปัจจัยต่าง ๆที่องค์กรจะต้องพยายามทำให้เกิดการสนับสนุนความรู้ให้ไปสู่เป้าหมายได้ ดังที่ รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม (ม.ป.ป.) ได้กล่าวไว้ว่า สิ่งแรกคือวัฒนธรรมและพฤติกรรมของคนในองค์กร ที่ต้องการมีส่วนร่วม เห็นคุณค่าของการเรียนรู้ และทำให้สมาชิกต่าง ๆในองค์กรเห็นประโยชน์ของการจัดการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารระดับสูงควรที่จะให้การสนับสนุน ส่งเสริม ให้พนักงานได้มีการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ ไม่หวงวิชา หรือกลัวว่าจะเสียผลประโยชน์ ซึ่งต้องสร้างความเชื่อมั่น ไว้ใจ ทำให้พนักงานเต็มใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่มีอยู่ สามารถแบ่งปันผลงาน ข้อคิด หรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น สร้างความรู้ใหม่จากความรู้เดิมที่มีอยู่ ประมวลและกลั่นกรองความรู้ออกมาเป็นรูปแบบเอกสาร ให้สามารถเข้าใจได้ทุกคนในภาษาเดียวกันได้ การสร้างระบบการจัดการความรู้ ควรที่จะต้องมีความพร้อมของอุปกรณ์เทคโนโลยีที่จะช่วยสนับสนุนการทำงาน และการเรียนรู้ของคนในองค์กรได้ (สมชาย นำประเสริฐชัย, 2545) เนื่องจากความรู้ต่าง ๆที่บุคลากรได้ถ่ายทอดไว้นั้น จะต้องนำมาจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล สามารถรวบรวมความรู้ต่าง ๆ จัดเก็บไว้ สะดวกในการเข้าถึง และง่ายต่อการนำมาใช้ และความรู้ที่อยู่ในฐานความรู้จะต้องมีความถูกต้อง มีคุณภาพ และมีความพร้อมของข้อมูลที่เก็บไว้ ซึ่งต้องได้รับการร่วมมือจากพนักงานที่จะเพิ่มข้อมูลของตนเองลงไปในฐานข้อมูล เก็บไว้เป็นหมวดหมู่ สามารถนำมาใช้ เพิ่มเติม และวัดผลได้ เป็นการต่อยอดให้พนักงานท่านอื่นได้ค้นคว้าหาความรู้ได้มากยิ่งขึ้น และไม่หายไปกับตัวพนักงานที่ลาออกไป เพื่อเป็นการรวบรวมการทำงานของพนักงานในองค์กร เป็นเครื่องมือที่ช่วยป้องกันความผิดพลาดในองค์กร สามารถช่วยหาสาเหตุ วิธีแก้ไข ขั้นตอนในการทำงาน การสร้างระบบการจัดการความรู้ ถือว่ามีประโยชน์กับองค์กรเป็นอย่างมาก ที่จะทำให้บรรลุในเป้าหมาย ซึ่งต้องวางระบบให้สอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ขององค์กร

ข้อเสนอแนะ
การสร้างระบบการจัดการความรู้ จะประสบความสำเร็จได้นั้น จำเป็นที่เราจะต้องรู้ให้ได้ว่า เราจำเป็นจะต้องใช้เครื่องมืออะไรบ้างในองค์กร และความรู้อะไรที่ภายในองค์กร บุคลากรมีอยู่บ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร แนวทางอะไรที่เราจะสามารถนำความรู้เหล่านั้นมาจัดเรียงให้อยู่ในระบบฐานข้อมูล และใครจะเป็นผู้ดูแลระบบข้อมูลเหล่านั้นด้วย


บรรณานุกรม

รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม. (ม.ป.ป.). การจัดการองค์ความรู้(Knowledge Management, ค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2551, จาก http:// fulbrightthai.org /data/knowledge/Knowledge%20Management%20%20x.doc
สมชาย นำประเสริฐชัย. (2545). 5 นาทีกับการจัดการความรู้. ค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2551, จาก http://www.ku.ac.th/emagazine/february45/it/five.htm.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น