วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การจัดการความรู้ เพื่อเพิ่มมูลค่า

การจัดการความรู้ เพื่อเพิ่มมูลค่า
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2551). การจัดการความรู้ เพื่อเพิ่มมูลค่า. ค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2551, จาก http:// www.Hrcenter.co.th/HR KnowView.asp?id = 242


สรุปสาระสำคัญ
ความรู้เป็นสิ่งที่เกิดได้กับทุก ๆ คน ที่มีความพยายามที่จะเรียนรู้ และนำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้แก่ตนเองได้ ซึ่งการจัดการความรู้ (knowledge management) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เราพัฒนาและก้าวหน้าตามโลก และมีส่วนทำให้เพิ่มมูลค่าในตัวเราเองมากยิ่งขึ้น เพราะการเรียนรู้ก่อให้เกิดการพัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจ ความเชี่ยวชาญ สติ ปัญญา ฯลฯ โดยมีวิธีต่าง ๆ ในการแสวงหาความรู้ ไม่ว่าจะเป็นการอ่าน การฟัง การถาม และการจดบันทึก ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ จะมีประโยชน์ถ้าเรานำมาปฏิบัติอยู่ถูกวิธี รู้ว่าเมื่อไหร่ควรนำมาใช้ และสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเพราะเรามีข้อมูลเก็บไว้อยู่ตลอดเวลา และควรที่จะประเมิน ติดตาม ความรู้อยู่เป็นประจำ เพราะโลกของเรามีข้อมูลข่าวสารเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำได้ไม่อยาก หากแต่เรามีความตั้งใจ มุ่งมั่นที่จะพัฒนา มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไม่หยุดกับที่ ซึ่งจะทำให้เรามีศักยภาพที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น

วิเคราะห์ วิจารณ์
มนุษย์ทุกคนต้องการความพัฒนา ก้าวหน้า ซึ่งสิ่งต่าง ๆ ล้วนแต่มีพื้นฐานมาจากการเรียนรู้ทั้งสิ้น ซึ่งบุคคลที่ใฝ่รู้ย่อมมีโอกาสมากมาย เพราะมีสติปัญญา สามารถที่จะคิด วิเคราะห์ ใช้วิจารณญาณ ซึ่งขึ้นอยู่กับเรานำความรู้ต่าง ๆ ที่สะสมไว้นำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างไร การจัดการความรู้ เป็นกระบวนการที่จะช่วยพัฒนาให้องค์กรสามารปรับตัวกับโลกปัจจุบันได้ เทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้มีความรู้ต่าง ๆเพิ่มมากยิ่งขึ้นด้วย บูรชัย ศิริมหาสาคร (2551) ซึ่งเราจำเป็นต้องเปิดใจรับข้อมูลข่าวสาร รวบรวมค้นหา แลกเปลี่ยนความรู้ และนำมาใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตนเอง องค์กร และสังคมได้ KMI (2551) สามารถนำความรู้ที่เป็นความรู้ที่แฝงในตัวของเรา จากประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน (tacit knowledge) นำมารวบรวม เป็นความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสาร, ตำราหรือคู่มือที่จะช่วยเป็นแนวทางทำให้เกิดความรู้ที่เด่นชัด (explicit knowledge) และนำมาเข้าสู่กระบวนการจัดการความรู้ (knowledge management) ที่จะช่วยต่อยอดความรู้ไม่ให้สูญหายไป ในกรณีที่พนักงานได้ลาออกไป ง่ายต่อคนที่จะมาเริ่มงานใหม่ เพราะมีข้อมูลให้ค้นหา อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้แลกเปลี่ยนความรู้ที่มีระหว่างกันได้

ข้อเสนอแนะ
การจัดการความรู้เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาในการสะสมความรู้อย่างยาวนาน จึงจำเป็นที่จะต้องมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้สามารถค้นพบตัวเองว่า แท้จริงแล้วมีใจรักในสิ่งใด ถนัดอะไร และนำความรู้ ความถนัดที่มีนำมาพัฒนาให้เกิดศักยภาพ อีกทั้งยังสามารถที่จะเปิดใจรับสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเสริมในสิ่งที่ขาดไป ทำให้จุดอ่อนกลายเป็นจุดแข็ง ได้ท่องโลกกว้างทางปัญญา ทำให้ชีวิตสดใส ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ค้นพบสิ่งที่ไม่คุ้นเคย สมองได้รับการกระตุ้นสร้างให้ได้รับสิ่งดีๆ ในชีวิต และเป็นหนทางในการสร้างความสุขในการทำงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่หาได้ไม่ยาก หากแต่ต้องรู้จักไขว่คว้าความรู้ให้ได้


บรรณานุกรม

บูรชัย ศิริมหาสาคร. (2551). การจัดการความรู้สู่องค์กรอัจฉริยะ. ค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2551, จาก
http://www.dol.go.th/KM/articles/articles.html
KMI. (2551). การจัดการความรู้. ค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2551, จาก http://www.person.ku.ac.th/training/kukm/doc/WedJuly2005-9-16-35-Introduce_KM.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น